ต่อเติมครัวหลังบ้าน มีความสำคัญอย่างไร พร้อมเหตุผลของการต่อเติม สิ่งที่ต้องคิดก่อนต่อเติม

ต่อเติมครัวหลังบ้าน

พูดถึงการทำอาหาร ใคร ๆ ก็ต้องนึกถึง ห้องครัว และสำหรับบ้านหนึ่งในห้องที่ต้องมีคือห้องครัว และปัจจุบันมีการรับวัฒนธรรมจากต่างประเทศเข้ามามากมาย บ้านจัดสรรหรือบ้านทั่วไปจะมีครัวอยู่ภายในบ้าน ซึ่งเรียกว่าครัวฝรั่ง ครัวแบบนี้ทำกับข้าวได้ทุกอย่าง ยกเว้นกลิ่นอาหารมักจะอบอวลเต็มบ้าน

ซึ่งถ้าเป็นอาหารฝรั่งต้องบอกเลยว่า กลิ่นคงสู้อาหารไทยไม่ได้ หากเป็นอาหารไทยอย่างผัดกะเพราจามกันทั้งบ้านเลย คนไทยชอบครัวนอกบ้านเป็นส่วนใหญ่ และเวลาซื้อบ้านจัดสรรหรือตามโครงการจึงอยากต่อเติมครัวหลังบ้าน เป็นเรื่องปกติ แต่การจะต่อเติมครัวหลังบ้านนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย มีเรื่องให้คิดมากมาย ไปดูกันว่าต้องคิดถึงเรื่องอะไรกันบ้าง

สิ่งที่ต้องคิดก่อนที่จะ ต่อเติมครัวหลังบ้าน

  • โครงสร้างเป็นสิ่งแรกที่ต้องให้ความสนใจมากที่สุด เพราะจะเป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักส่วนต่อขยายทั้งหมด ส่วนต่อเติมแม้จะเชื่อมต่อกับตัวบ้านแต่ก็ต้องแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง
  • การเทพื้นหากใต้พื้นมีบ่อบำบัดหรือฝาระบบให้เว้นตำแหน่งไว้ทำฝาเปิดเพื่อความสะดวกในการบำรุงรักษาในอนาคต สิ่งสำคัญในการเทพื้นคือการรักษาระยะห่างระหว่างพื้นใหม่กับพื้นเก่า โดยใช้โฟมหนาประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการแตกร้าว
  • การก่อผนังอาจเป็นอิฐหรือคอนกรีตมวลเบาก็ได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรใช้ผนังเบา ใช้ได้ทั้งกับแผ่นยิปซัมและไม้ฝาเทียม มีความสวยงาม เรียบร้อยอีกด้วย และอาจเว้นช่องสำหรับการระบายอากาศด้วยไม้ระแนงหรือบานเกล็ด
  • หลังคาต้องวางโครงเหล็กหลังคาไว้บนเสา ส่วนที่ติดกับผนังบ้านเดิมทำเป็นปีกคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำฝน จากนั้นติดตั้งกระเบื้องมุงหลังคาจะใช้กระเบื้องลอนหรือกระเบื้องเซรามิคที่กันความร้อนได้ดี แต่ถ้ากลัวว่าบ้านจะทึบเกินไปก็เลือกใส่กระเบื้องใสเป็นบางส่วน หรืออาจใช้วัสดุโปร่งแสงน้ำหนักเบาแทนได้ทั้งหมด สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้คือเราต้องไม่ลืมที่จะติดตั้งรางน้ำฝนด้วย เพื่อไม่ให้น้ำจากหลังคาของเราไหลลงสู่สวนหลังบ้านของเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน

ก่อนต่อเติมครัวหลังบ้าน ต้องรู้อะไรบ้าง ?

การต่อเติมครัวหลังบ้านมักทรุดตัวจนทำให้เกิดรอยร้าว และต้องซ่อมแซมบ่อยครั้ง มาอ่านวิธีเลือกวัสดุ โครงสร้าง ตรวจเช็คและดูแลครัวให้มีอายุยืนยาวกัน เตรียมงบประมาณไว้เท่าไรจึงจะได้มาตรฐาน รวมถึงกฎหมายการเว้นระยะถอยร่นอย่างง่าย ด้วยขั้นตอนดังนี้

  • การออกแบบต่อเติมครัวหลังบ้าน

แบบครัวหลังบ้าน การวางแผนการออกแบบที่ดีจะช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอย โดยเฉพาะครัวหลังบ้าน หากจัดวางสัดส่วนพื้นที่เพิ่มเติมอย่างเหมาะสมก็จะได้พื้นที่ใหม่มาใช้ประโยชน์ได้อีกมาก นอกจากจะช่วยทำให้บ้านสวยงามสะท้อนตัวตนของเจ้าของบ้านแล้ว อีกทั้งยังช่วยทำให้บ้านไม่อึดอัดอีกด้วย

  • ห้องครัวแบบโปร่ง

เป็นส่วนต่อเติมที่เน้นความโล่งสบาย ช่วยให้ครัวมีอากาศถ่ายเทสะดวกเวลาทำอาหาร โดยปกติจะใช้กระจกเพื่อสร้างความสวยงาม หรือใช้ไม้ระแนงทำเป็นพื้นที่กั้นสายตาก็ได้เช่นกัน เพื่อช่วยลดความร้อน แต่กลางคืน ห้องครัวอาจมีแขกไม่ได้รับเชิญ แต่ทั้งนี้ควรออกแบบให้สอดคล้องกับตัวบ้านด้วย

  • สำหรับทาวน์โฮม

ทำให้บ้านมีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยการย้ายอุปกรณ์ก่อสร้างได้มากน้อยเพียงใด นิยมทำครัวแบบ 2 สเต็ป โดยกั้นพื้นที่ทำครัว และส่วนระบายอากาศสำหรับตากผ้าใช้กระเบื้องปิดผนังและวางเครื่องดูดอากาศให้สูงพอสมควร อย่าให้กลิ่นครัวรบกวนบ้านข้าง ๆ

  • ถอยร่นตามกฎหมาย

เพื่อให้บ้านปลอดภัย ถูกสุขอนามัย และง่ายต่อการซ่อมแซมก่อสร้าง จะมีข้อกำหนดเรื่องระยะห่างของกำแพงกับที่ดินข้างเคียง ผนังที่มีช่องเปิดควรมีระยะห่างจากแนวที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร ผนังทึบควรมีระยะห่างจากที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร  เราสามารถต่อรองขอแนวที่ดินกับเพื่อนบ้านฝั่งที่เราต่อเติมได้ ถ้าเพื่อนบ้านยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรก็สามารถสร้างชิดแนวเขตที่ดินได้

ข้อควรรู้กับช่องระบายอากาศ ในการต่อเติมครัว

ข้อควรรู้กับช่องระบายอากาศ ในการต่อเติมครัว

ต่อเติมครัวหลังบ้านราคาประหยัด หลังจากซื้อบ้านจัดสรรแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ทาวน์โฮม หรือ บ้านเดี่ยว เจ้าของบ้านมักมีความต้องการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยในบ้าน เรียกได้ว่าไม่เหลือที่ว่างเลย ครัวไทยเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ใช้สอยยอดนิยมที่มีการขยาย ซึ่งนอกจากจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างที่มีผลกระทบชัดเจนแล้วยังต้องเว้นระยะห่างจากแนวรั้วอย่างน้อย 50 เซนติเมตรอีกด้วย และบังคับให้ปิดผนังโดยไม่มีช่องลมหรือรูระบายอากาศ ส่งผลให้กลิ่นและควันจากการทำอาหารระบายออกได้ไม่ดี

สำหรับปัญหาการระบายอากาศส่วนต่อเติมครัวนี้ มีวิธีแก้ไขอยู่ 2 วิธี วิธีแรกคือ การระบายอากาศตามธรรมชาติ หากเป็นบ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่ด้านข้างเพียงพอและห่างจากรั้วอย่างน้อย 2 เมตร สามารถใช้เจาะช่องหน้าต่างด้านข้างได้ แต่สำหรับทาวน์โฮมที่ไม่มีพื้นที่ดังกล่าว การทำหลังคา 2 ชั้นสามารถทำได้โดยยกหลังคาชั้นบนให้สูงกว่าหลังคาชั้นล่างทำให้เกิดช่องว่างระหว่างหลังคาทั้ง 2 ด้านบน

เพียงแค่ตีระแนงไม้ซ้อนกันเป็นเกล็ด (อาจใช้เป็นไม้เทียมหรือไม้สังเคราะห์แทนก็ได้) เพิ่มเข้าไปก็จะเป็นช่องลม ซึ่งอาศัยการระบายอากาศตามธรรมชาติ ให้ไอร้อนลอยขึ้นและระบายออกได้เอง ประสิทธิภาพการระบายอากาศขึ้นอยู่กับทิศทางลมที่พัดภายนอกบ้านด้วย หากหันไปทางลมจะทำให้ควันหนีออกไปได้ยาก

อีกแนวทางคือการติดตั้งพัดลมดูดอากาศหรือพัดลมระบายอากาศ เวลาทำอาหาร ให้เปิดพัดลมดูดควันและกลิ่นออกจากห้อง พัดลมควรหมุนด้วยความเร็ว 1,500 รอบต่อนาทีขึ้นไป สำหรับห้องครัว ขนาด 6 เมตร x 3 เมตร หรือประมาณ 18 ตร.ม. ควรเลือกพัดลมดูดอากาศที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นิ้ว ขึ้นไป (ซึ่งจะระบายอากาศได้ 810 ลูกบาศก์เมตร ต่อ ชั่วโมง หรือ 476 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที) สำหรับห้องครัวขนาด 4 เมตร x 3 เมตร หรือประมาณ 12 ตารางเมตร ควรเลือกใช้พัดลมดูดอากาศที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้วขึ้นไป (ซึ่งจะระบายอากาศได้ 540 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง หรือ 317ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที)

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

บทความใกล้เคียง

ติดต่อเรา